มาดูความเปลี่ยนแปลงของบริษัทที่ใช้ Uipath กัน

เราก็คงอยากรู้กันว่าถ้าเราใช้เจ้าตัว Uipath มันมีความแตกต่างกับตอนที่เราไม่ใช้ยังไง มันจะคุ้มค่าไหมถ้าเราเลือกที่จะใช้งาน เรามาดูวิดีโอนี้กัน จากวิดีโอคงจะเห็นได้ว่าเจ้าตัว Uipath ทำให้การทำงานของเรามีความสะดวกมากขึ้น สามารถใช้งานได้กับทุกแผนก เรามาดูกันว่า ผลประโยชน์ทางธุรกิจจากบริษัทที่ใช้ Uipath  เป็นยังไง 1. การประหยัดค่าใช้จ่าย – ในการใช่งานระยะยาวจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการจ้างพนักงาน 2. รายได้ของผลผลิต –  มีรายได้ที่มากขึ้น โดยที่ผลผลิตเท่าเดิม 3. การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ –  มีกระบวนการทางธุรกิจที่รวดเร็วมากขึ้น 4. การปรับปรุงคุณภาพ/และความผิดพลาด – ถ้าหุ่นยนต์ทำงานตาม Process ความผิดพลาดจะอยู่ที่ 0% 5.การปฎิบัติตาม – Robot สามาราถทำงานอะไรก็ได้ที่คุณเป็นคนกำหนดให้ 6. ความพึงพอใจของลูกค้า -เพราะมีการทำงานที่เร็วขึ้น จึงทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีต่องานที่เร็วขึ้น 7.ความยืดหยุ่น – มีความยืดหยุ่นสูง Robotสามารถช่วยให้คุณทำในสิ่งที่คุณต้องการได้  อ้างอิงรูปจาก  : https://bankingblog.accenture.com/benefits-of-robotic-process-automation-extend-beyond-just-cost-savings-for-banks จากภาพนี้เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างการใช้มนุษย์ในการทำงาน กับ การใช้ RPA ในการทำงาน คราวนี้ เราคงจะมีคำถามกันว่าเอ้าแล้วแบบนี้คนที่ทำงานอยู่ก่อนทำยังไงถ้ามี RPAเข้ามาแล้วเราก็ตกงานอะสิ คำตอบคือ คุณเข้าใจผิดแล้วหละ คุณก็ยังทำงานอยู่เหมือนเดิม แต่งานที่Robot สามารถทำได้ เราก็ปล่อยให้ Robotทำ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่า ไม่ได้หมายความว่าคุณจะตกงานนะ แต่หมายความว่าคุณจะเป็นคนทีมาควบคุมเจ้า Robot นี้แทน คุณจะทำงานได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น  เห็นอย่างนี้แล้วสำหรับริษัทที่ตัดสินใจว่าจะลงทุนกับเจ้าตัว

UiPath ผู้นำด้าน RPA tools

ในบทความนี้เราจะมาบอกกันว่า ทำไมทาง GO-RPA ถึงแนะนำเจ้าตัว UIPath มันไม่ได้มีดีแค่ทดลองใช้ได้ฟรีเท่านั้นนะ เรามาดูกันว่า Uipath ดียังไง Uipath คือ RPA tools ตัวหนึ่งที่ใช้งานได้ง่ายมากๆ แม้แต่คนที่ไม่มีความรู้ด้าน Programer หรือ คนที่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ไม่มาก ก็สามารถใช้งานได้ เพราะการทำงานหลักในหน้า Design ของ UiPath คือการ Drag and Drop Activities หมายความว่า แค่เราลาก Activities มาในหน้า Design ก็สามารถใช้งานได้แล้ว และการใช้ Code ก็น้อยมากๆ  ดังนั้นไม่ต้องกลัวเลยใครก็สามารถศึกษาได้ และ UiPath ก็เป็นผู้นำทางด้าน RPA ด้วย เรามาดูผลสำรวจจาก The Forrester Wave กัน Forrester wave Q2 2018 UiPath เป็นผู้นำทางด้าน RPA ผลสำรวจจาก Gartner Magic Quadrant Leader Q2 2019 UiPath เป็นผู้นำทาง RPA และสดๆร้อนๆ ใน Q4 ของ Forester

มาทำความรู้จัก RPA Tools กันเถอะ

จากบทความที่แล้วเราก็ได้รู้กันแล้วว่า RPA คืออะไร ในบทความนี้เราจะทำความรู้จัก RPA Tools กัน  RPA tools  หรือ RPA Software ที่เราจะนำมาสร้าง Process ในการสั่งให้ RPA ทำงานตาม Process ที่เราวางเอาไว้  มีหลากหลายผู้ให้บริการในตลาดที่หน้าสนใจ 3 ผู้ให้บริการหลักๆ ที่เราน่าจะรู้จักกัน คือ UiPath , Blue Prism และ Automation Anywhere   นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายผู้ให้บริการที่มีความหน้าสนใจ แต่ในบทความนี้ขอกล่าวถึง 3 ผู้ให้บริการนี้                 ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือก RPA tools ซัก 1 ตัวเราต้องรู้ก่อนว่าเราจะนำไปใช้งานอะไรคุ้มค่าไหม เพราะ RPA tools มีราคาที่สูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราไม่ซื้อ RPA tools เราจะไม่สามารถเรียนรู้การใช้งาน RPA ได้ มีบางผู้ให้บริการที่เปิดให้เราใช้ตัว RPA tools ศึกษาแบบฟรีอยู่เหมือนกัน ซึ่งเราจะมาดูกันว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้ RPA tools ปัจจัยในการตัดสินใจเลือก RPA tools คือ 1. Technology – RPA Tool ควรจะต้องมีความอิสระ

เบื่อไหมกับการทำงานซ้ำๆ ทุกวัน ให้ RPA ช่วยคุณสิ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนยีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน Hardware , Software หรือ AI ซึ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตการทำงานของเรามากขึ้น RPA ก็เป็นเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์อย่างเรานี่เอง คงอยากรู้กันแล้วสิว่ามันทำงานยังไง  เดียวเรามาดูกันเลยดีกว่า         RPA หรือ Robotic Process Automation เป็น Robot Software ชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อเลียนแบบพฤติกรรม หรือ การกระทำที่ซ้ำๆ ของมนุษย์ มีความสามารถในการจัดการ บริหารข้อมูลที่มีรูปแบบที่แตกต่างกัน จำนวนมากๆ และต้องทำงานซ้ำๆ อ้างอิงภาพจาก : https://yourdevelopmentteam.com.au/blog/what-is-robotic-process-automation         พูดกันตรงนี้อาจจะไม่เห็นภาพเท่าไหร่ เราไปดูตัวอย่างงานจริงที่ใช้ RPA ในการทำงานกัน         ตัวอย่างงาน สมมุติว่าเราอยู่แผนก HR มีข้อมูลพนักงานจำนวนมากที่ต้องกรอกข้อมูลใส่ระบบของบริษัท เช่น โปรแกรม SAPซึ่งข้อมูลของพนักงานบริษัทแต่ละคนก็ มักจะมีการเก็บข้อมูลที่ซ้ำกัน เช่น ชื่อ,นามสกุล, เลขประจำตัวพนักงาน , แผนก หรือข้อมูลอื่นๆ         ซึ่งถ้าบริษัทเรามีพนักงานบริษัทอยู่หลักร้อย หรือหลักพันคนหละ ลองคิดดูว่า คุณต้องใช้เวลากรอกข้อมูลลงในระบบนานเท่าไหร่ และสามารถเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ไหม